จังหวัดกรุงเทพมหานคร
:ข้อมูลการเดินทาง
ที่พักกรุงเทพมหานคร{ พบ 43 รายการ }
Fullrich Residence ลาดพร้าว 71Fullrich Residence ลาดพร้าว 71 ทุกการออกแบบภายใต้แนวคิด เเข้าชม: 975 | ความคิดเห็น: 0
สินสิริ 5สินสิริ 5 ห้องพักหรูแบบโรงแรม ในราคาสุดประหยัด ห้องพักราเข้าชม: 977 | ความคิดเห็น: 0
สินสิริรีสอร์ทสินสิริรีสอร์ท ห้องพักหรูหลากสไตล์เข้าชม: 965 | ความคิดเห็น: 0
สินสิริ 1 ลาดพร้าว 130ห้องพักรายวัน - รายเดือน ในราคาสุดประหยัดเข้าชม: 985 | ความคิดเห็น: 0
สินสิริ 3 ลาดพร้าว 83ห้องพักหลากสไตส์ อยู่ด้านข้าง บิกซีลาดพร้าวเข้าชม: 975 | ความคิดเห็น: 0
สินสิริ 2สินสิริ 2 ห้องพักหรูแบบโรงแรม (ตรงข้าม บิ๊กซีลาดพร้าว) ในรเข้าชม: 972 | ความคิดเห็น: 0
บ้านหนึ่ง เซอร์วิทอพาร์ทเมนท์บ้านหนึ่ง เซอร์วิทอพาร์ทเมนท์ ห้องพักตบแต่งอย่างมีสไตร์พร้อเข้าชม: 964 | ความคิดเห็น: 0
TK.PALACE HOTEL & CONVENTIONโรงแรมทีเค. พาเลซให้บริการห้องพักและห้องสวีทหรูกว่า 180 ห้องเข้าชม: 965 | ความคิดเห็น: 0
lebua at State Towerlebua is an all-suite hotel where every one of our 357 suiteเข้าชม: 964 | ความคิดเห็น: 0
@1150 Villa@ 1150 Villa?s address: 1150, Soi. Jun43 Road or Soi. Satooเข้าชม: 968 | ความคิดเห็น: 0
โรงเเรมสีลมอเวนิวอินน์ 22: Silom Avenue Inn 2โรงเเรมสีลมอเวนิวอินน์22 ตั้งอยู่ที่284/11/13 ซอยสีลม22/1 เข้าชม: 972 | ความคิดเห็น: 0
Royal Benja Hotelโรงแรมรอแยลเบญจา กรุงเทพฯ โรงแรมหรูหราชั้นนำกลางย่านธุรกิจแเข้าชม: 964 | ความคิดเห็น: 0
สามเสนสามเพลซสามเสนสามเพลซ... บ้านไม้เก่าแก่ สมัยรัชกาลที่ 6 มีอายุร่วม 1เข้าชม: 960 | ความคิดเห็น: 0
โฟวิงส์โฮเทลIn the heart of Bangkok's business district, shopping centreเข้าชม: 967 | ความคิดเห็น: 0
ข้อมูลการเดินทาง : กรุงเทพมหานคร
เดิมทีกรุงเทพมหานครใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก โดยมีคลองมากจนได้ฉายาว่า เวนิสตะวันออก แต่ปัจจุบันบางแห่งได้มีการถมคลองเพื่อที่อยู่อาศัย การคมนาคมจึงเน้นหนักไปทางบกแทน
กรุงเทพมหานครได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่การจราจรติดขัดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ได้มีการแก้ไขปัญหาการจราจรมากมาย เช่น การสร้างทางด่วน หรือ รถไฟฟ้า ขึ้น
การคมนาคมในกรุงเทพมหานคร นั่นสามารถทำได้หลายทาง เช่น การนั่งรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) แท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง
รถโดยสารประจำทาง จะมีหลายสายเพื่อเป็นการบริการประชาชน ให้บริการในราคาย่อมเยา สำหรับรถโดยสารประจำทางจะเริ่มต้นที่ 7 บาท สำหรับรถพัดลมของขสมก. และ 11 บาทสำหรับรถปรับอากาศ และ 12 บาทสำหรับรถโดยสารปรับอากาศแบบยูโร 2
กรุงเทพมหานครเป็นจุดเริ่มต้นของถนนหลักของประเทศไทย ได้แก่
- ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายเหนือ)
- ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายตะวันออก)
- ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายใต้)
ทางรถไฟ
การเดินทางด้วยรถไฟสามารถทำได้ โดยมีสถานีรถไฟต้นทางสามแห่งคือ
- สถานีรถไฟกรุงเทพ (สถานีรถไฟหัวลำโพง) สำหรับเดินทางไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนล่าง
- สถานีรถไฟธนบุรี(สถานีรถไฟบางกอกน้อย) สำหรับเดินทางไปยังภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันตก
- สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ สำหรับเดินทางเลียบปากอ่าวไทยไปยังปากน้ำท่าจีนและปากน้ำแม่กลอง
ในอนาคต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีแผนที่จะปรับปรุงสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อให้เป็นสถานีหลักเพียงแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ จะมีการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟทางไกลทั้งสามส่วนเข้าด้วยกันภายใต้โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดงเข้ม รังสิต-มหาชัย และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ)
ทางรถไฟฟ้าและใต้ดิน
เมื่อปี พ.ศ. 2542 โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS - ย่อมาจาก Bangkok Transit System) ได้เปิดใช้งาน ซึ่งเป็นรถไฟระบบรางคู่ที่สร้างบนทางยกระดับ ส่วนรถไฟใต้ดินได้เปิดบริการเมื่อปีพ.ศ. 2547 ในชื่อโครงการรถไฟฟ้ามหานคร (MRT: Mass Rapid Transit)
ทางรถไฟฟ้า-ใต้ดินที่ดำเนินการในปัจจุบันมีดังนี้
- รถไฟฟ้าบีทีเอส
- - สายสุขุมวิท (สีเขียวอ่อน)
- - สายสีลม (สีเขียวเข้ม)
รถไฟฟ้ามหานคร
- สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน)
ทางรถโดยสารประจำทาง (ต่างจังหวัด)
รถโดยสารประจำทางหรือรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สำหรับเดินทางไปจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย โดยมีสถานีหลักอยู่ที่
- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (หรือที่เรียกกันติดปากว่า หมอชิตใหม่ หรือ หมอชิต 2) สำหรับเดินทางขึ้นเหนือ ไปภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง (รวมทั้งภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ในบางเส้นทาง)
- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) สำหรับเดินทางไปภาคตะวันออก
- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) สำหรับเดินทางลงใต้ ไปภาคใต้และภาคตะวันตก
ทางรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ
รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ คือระบบขนส่งมวลชนใหม่ของกรุงเทพมหานคร มีลักษณะคล้ายกับรถประจำทาง แต่การเดินของรถนั้นแยกออกจากถนนปกติ สายที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบันคือ สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 16.5 กิโลเมตร โดยจะสามารถเปิดทดลองวิ่งได้ในวันที่ 12 สิงหาคมนี้ และจะให้บริการฟรีเป็นเวลา 6 เดือน
ทางอากาศ
การเดินทางทางอากาศ ในอดีตได้ใช้สนามบินดอนเมือง (ท่าอากาศยานกรุงเทพ) ซึ่งได้เปิดใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ต่อมาได้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการ) ซึ่งได้เปิดใช้มาตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 03.00 น
ในปัจจุบัน สนามบินดอนเมืองเป็นสนามบินสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ และมีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสำหรับเที่ยวบินต่างประเทศและเที่ยวบินในประเทศบางส่วน
ทางน้ำ
เรือโดยสารทั้งทางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองมีดังนี้
- - เรือโดยสารคลองแสนแสบ
- - เรือด่วนเจ้าพระยา: เรือด่วนประจำทางและเรือด่วนพิเศษ (ธงส้ม ธงเหลือง ธงฟ้า
และธงเขียว-เหลือง) - - เรือหางยาวด่วนคลองบางกอกน้อย
- - เรือด่วนสาทร-คลองเตย
นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารชื่อดังของสหรัฐอเมริกาให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในเอเชียและของโลกขยับขึ้นมาจาก อันดับที่ 3 ของโลกมาอยู่อันดับที่ 1 ของโลก
แหล่งข้อมูล :
วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี