จังหวัดเพชรบุรี
:ข้อมูลทั่วไป
ที่พักเพชรบุรี{ พบ 34 รายการ }
Heavenbeach hotelยินดีต้อนรับเข้าสู่ เฮฟเว่น บีช โฮเต็ล โรงแรมมีระดับตั้งอยเข้าชม: 1021 | ความคิดเห็น: 0
บ้านทะเลสำราญ ชะอำcondoสวย ออกแบบโครงการโดยคนออกแบบ chivasom resort มีสระว่ายนเข้าชม: 1014 | ความคิดเห็น: 0
บ้านเรือนไม้ ยูเรเซีย ชะอำ ลากูน (ที่พักชะอำ)บ้านเรือนไม้เป็นบ้านตากอากาศ สำหรับครอบครัว ในโครงการ ยูเรเซเข้าชม: 1037 | ความคิดเห็น: 0
CHA-AM POOL VILLA บ้านพักตากอากาศส่วนตัวบ้านพักสไตร์ Pool Villa 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ห้องรับแขก 1 หเข้าชม: 1007 | ความคิดเห็น: 0
ตะวันปลายฟ้าห่างจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานประมาณ10km พื้นที่โดยรอบเป็นปเข้าชม: 1009 | ความคิดเห็น: 0
วินัยบ้านไร่วินัยบ้านไร่ บ้านพักอันแสนอบอุ่น วันหยุดสุดสัปดาห์นี้เราขอเข้าชม: 1032 | ความคิดเห็น: 0
รีสอร์ทเรือนสร้อยฟ้าบริการที่พักเต้นท์ติดแอร์ สำหรับครอบครัว กลุ่มสัมมนา ห้องพักเข้าชม: 997 | ความคิดเห็น: 0
บ้านไม้ไร่เจริญรีสอร์ทบ้านพักริมแม่น้ำเพชรบุรี ใกล้เขื่อนดินแก่งกระจาน บริการบ้านพเข้าชม: 1006 | ความคิดเห็น: 0
Coutyard by Marriott Resort Hua Hin at Cha amConveniently situated between Cha am and Hua Hin, Courtyard เข้าชม: 999 | ความคิดเห็น: 0
Puktien Cabana Beach Resort & Residenceยิ้มรับแสงอาทิตย์ยามเช้า ที่สาดส่อง ตรงมายังระเบียงหน้าห้องพเข้าชม: 1012 | ความคิดเห็น: 0
นาน่า รีสอร์ท แอนด์ สปานาน่า รีสอร์ท แอนด์สปา รีสอร์ทสวยหรูท่ามกลางธรรมชาติโอบล้อมเข้าชม: 1014 | ความคิดเห็น: 0
Chaam hill Clubhouseที่พัก สไตล์รีสอร์ท ที่ชะอำ ใกล้หัวหิน มีที่พัก,เป็นคลับเฮเข้าชม: 1000 | ความคิดเห็น: 0
โรงแรมรอยัล ไดมอนโรงแรมรอยัล ไดมอน ขอต้อนรับท่านด้วยมิตรภาพ สู่โรงแรม ในเมืองเข้าชม: 1008 | ความคิดเห็น: 0
Deelek GuesthouseDeelek Guesthouse and Restaurant Gourmet Thai and Internatiเข้าชม: 1013 | ความคิดเห็น: 0
เขาวังคู่บ้าน ขนมหวาน เมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม เพชรบุรี
เป็นจังหวัดในภาคกลางที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอ่าวไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 123 กิโลเมตร เป็นเมืองเก่าที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน โดยมีชื่อปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งสมัยสุโขทัยและมีหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งมีอายุย้อนไปถึงสมัยขอมและสมัยทวารวดี ทั้งยังเคยเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญชั้นเมืองลูกหลวงในสมัยอยุธยา
เพชรบุรี มีพื้นที่ 6,255.138 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศทางด้านทิศตะวันตกเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างไทยกับสหภาพพม่า ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบไปจนจดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรีมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำบางกลอย และแม่น้ำบางตะบูน ประชากรจังหวัดเพชรบุรีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีการทำนา สวนผลไม้ ทำน้ำตาลโตนด เลี้ยงสัตว์ และทำการประมง
จังหวัดเพชรบุรี แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาย้อย อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอบ้านแหลม อำเภอบ้านลาด อำเภอท่ายาง อำเภอแก่งกระจาน และอำเภอชะอำ
ประวัติศาสตร์
เพชรบุรี เป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทยในกลุ่มหัวเมืองฝ่ายตะวันตก มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ มีหลักฐานชื่อเรียกปรากฏในหนังสือชาวต่างประเทศ เช่น ชาวฮอลันดาเรียกว่า “พิพรีย์” ชาวฝรั่งเศสเรียกว่า “พิพพีล์” และ “ฟิฟรี” จึงสันนิษฐานกันว่าชื่อ “เมืองพริบพรี” ซึ่งเป็นชื่อเดิมของเมืองเพชรบุรี ซึ่งสอดคล้องกับชื่อวัดพริบพลี ที่เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัด และที่วัดแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ตั้งเสาชิงช้าอีกด้วย
เพชรบุรี เป็นเมืองเก่าแก่มาแต่โบราณ เคยเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ อาณาจักรหนึ่ง บางสมัยมีเจ้าผู้ครองนครหรือกษัตริย์ปกครองเป็นอิสระ บางสมัยอาจจะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรที่เข้มแข็งกว่า เจ้าผู้ครองนครได้ส่งเครื่องบรรณาการไปยังเมืองจีนเป็นประจำ เพชรบุรีมีปรากฏเป็นหลักฐานมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่น พระปรางค์ 5 ยอด ณ วัดมหาธาตุวรวิหาร และปราสาทหินศิลาแลง ณ วัดกำแพงแลงเป็นต้น โดยที่มาของชื่อเมืองนั้นอาจเรียกตามตำนานที่เล่าสืบกันมาว่าในสมัยโบราณเคยมีแสงระยิบระยับในเวลาค่ำคืนที่เขาแด่น ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่ามีเพชรพลอยบนเขานั้นจึงพากันไปค้นหาแต่ก็ไม่พบ จึงได้ออกค้นหาในเวลากลางคืนแล้วใช้ปูนที่ใช้สำหรับกินหมากป้ายเป็นตำหนิไว้เพื่อมาค้นหาในเวลากลางวัน แต่ก็ไม่พบ บ้างก็ว่าเรียกตามชื่อของแม่น้ำเพชรบุรี เมืองเพชรบุรีมีศิลปะวัตถุมากมาย เป็นหลักฐานที่แสดงว่าเพชรบุรีเคยเป็นบ้านเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นชุมชนถาวรมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เช่น ศิลปะปูนปั้น
เมื่อถึงยุคของอาณาจักรสุโขทัย แม้อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงแม้จะมีอำนาจครอบคลุมเพชรบุรี แต่เพชรบุรีก็ยังมีอิสระอยู่มาก สามารถส่งทูตไปจีนได้ ต้นวงศ์ของกษัตริย์เพชรบุรีในช่วงสมัยสุโขทัยคือ พระพนมทะเลศิริ ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชยปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทองจึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
ในสมัยอยุธยาตอนต้น เพชรบุรีขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาในแบบศักดินาสวามิภักดิ์มีขุนนางควบคุมเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถอำนาจใน ส่วนกลางมีมากขึ้น เพชรบุรียังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นอำนาจจากส่วนกลางจึงมามีส่วนในการปกครองเพชรบุรีมากกว่าเดิม
ในสมัยพระมหาธรรมราชา ทางเขมรได้ให้พระยาจีนจันตุยกทัพมาตีเมืองเพชรบุรี แต่ชาวเพชรบุรีป้องกันเมืองไว้ได้ ต่อมาพระยาละแวกได้ยกทัพมาเองมีกำลังประมาณ 7,000 คน เมืองเพชรบุรีจึงตกเป็นของเขมร จนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงตีเขมรชนะ เพชรบุรีจึงเป็นอิสระ และเนื่องจากทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีเป็นพิเศษ จึงได้เสด็จมาประทับที่เมืองเพชรบุรีเป็นเวลาถึง 5 ปี ก่อนจะทรงยกทัพใหญ่ไปปราบพม่า และสวรรคตที่เมืองหาง
เจ้าเมืองเพชรบุรีและชาวเมืองเพชรบุรีได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับข้าศึกหลายครั้ง นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเชษฐาธิราชและสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โดยเฉพาะในสมัยพระเทพราชานั้น การปราบปรามเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่ง แข็งเมือง พระยาเพชรบุรีได้เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสบียงให้แก่กองทัพฝ่ายราชสำนักอยุธยา อย่างไรก็ดีเมืองเพชรบุรีถูกตีแตกอีกครั้ง เมื่อพม่าโดยมังมหานรธราได้ยกมาตีไทย จนไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 นั่นเอง เพชรบุรีในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินจนถึงแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไทยยังคงทำสงครามกับพม่ามาโดยตลอดซึ่ง เจ้าเมืองและชาวเมืองเพชรบุรีก็ยังคงมีส่วนในการทำสงครามดังกล่าว จนเมื่อพม่าตกเป็นของอังกฤษบทบาทของเมืองเพชรบุรีที่มีต่อเมืองหลวงและราชสำนักจึงค่อยๆ เปลี่ยนไป
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีตั้งแต่ครั้ง ยังทรงผนวชอยู่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดให้สร้างพระราชวัง วัดและพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นบนเขาเตี้ย ๆ ใกล้กับตัวเมืองและพระราชทานนามว่า “พระนครคีรี” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองเพชรบุรี คือ “พระรามราชนิเวศน์” หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “วังบ้านปืน” และด้วยความเชื่อที่ว่าอากาศชายทะเลและ น้ำทะเลอาจบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าให้สร้างพระราชวัง “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” ขึ้นที่ชายหาดชะอำเพื่อใช้เป็นที่ประทับรักษาพระองค์
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ทิศตะวันออก ติดต่อชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
อำเภอเมือง
สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี โทร. 0 3242 5573
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 3242 8047
ที่ว่าการอำเภอเมือง โทร. 0 3242 5544
โรงพยาบาลพระจอมเกล้า โทร. 0 3240 1251-3
โรงพยาบาลเพชรรัชต์ โทร. 0 3241 7070 - 2
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. 0 3242 5500, 0 3241 7106
บริษัท ขนส่ง จำกัด สาขาเพชรบุรี โทร. 0 3242 5307
สถานีรถไฟเพชรบุรี โทร. 0 3242 5211ไปรษณีย์เพชรบุรีโทร. 0 3242 5146, 0 3242 5571
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเทศบาลเมืองเพชรบุรี โทร. 0 3240 2220, 0 3242 7579
อำเภอชะอำ
ททท. สำนักงานเพชรบุรี (เพชรบุรี ราชบุรี) อ.ชะอำ เพชรบุรี โทร. 0 3247 1005-6
ที่ว่าการอำเภอชะอำ โทร. 0 3247 1361, 0 3247 2502, 0 3247 1078
โรงพยาบาลชะอำ โทร. 0 3247 1007
สถานีตำรวจภูธรอำเภอชะอำ โทร. 0 3247 1321, 0 3243 4021-2
ไปรษณีย์ชะอำ โทร. 0 3247 1252
สถานีรถไฟชะอำ โทร. 0 3247 1159
สถานีรถปรับอากาศ (ปอ.1) โทร. 0 3247 1615 (สี่แยกชะอำ) โทร. 0 3247 1654, 0 3243 3288 (ชายหาดชะอำ)
ศูนย์ตำรวจท่องเที่ยวเฉพาะกิจหัวหิน-ชะอำ โทร. 0 3251 5995
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
Link ที่น่าสนใจ
ททท.สำนักงานเพชรบุรี (เพชรบุรี ราชบุรี)
http://www.tourismthailand.org/phetchaburi
สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี
http://www.phetchaburi.go.th
แหล่งข้อมูล :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี