ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
:จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่พักพระนครศรีอยุธยา{ พบ 21 รายการ }
เวลเนสโฮม รีสอร์ท แอนด์ สปา พระนครศรีอยุธยารีสอร์ทสำหรับคนรักษ์สุขภาพ อยู่บนเนื้อที่กว่า 1200 ไร่ ความสเข้าชม: 1012 | ความคิดเห็น: 0
THE LIMA PLACEWelcome to The Lima Place The Lima Place is a modern stylisเข้าชม: 1003 | ความคิดเห็น: 0
บ้านจิตต์วิไลจิตต์วิไล เพลส และ บ้านจิตต์วิไล ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าชม: 1015 | ความคิดเห็น: 0
Pludhaya Resort & SpaPludhaya Resort & Spa, the first Thai style boutique resเข้าชม: 992 | ความคิดเห็น: 0
the P.U. INN UBONPONWelcome to the P.U. INN UBONPON One of the best places toเข้าชม: 993 | ความคิดเห็น: 0
ผักไห่ แอ๊คคลูซีพ เฮ้าส์ผักไห่ แอ๊คคลูซีพ เฮ้าส์เข้าชม: 999 | ความคิดเห็น: 0
กระท่อมเจ้าพระยาเรือนอาหารเจ้าพระยา อิ่มอร่อยกับอาหารไทยสดๆ จากแม่น้ำบนเเข้าชม: 1006 | ความคิดเห็น: 0
โรงแรมอยุธยาธานีโรงแรมอยุธยาธานี เชิญคุณมาสัมผัส ห้องพักสไตล์โมเด้น ตั้งอยู่เข้าชม: 1005 | ความคิดเห็น: 0
The U-Thong InnThe U-Thong Inn is conveniently situated north of Bangkok inเข้าชม: 991 | ความคิดเห็น: 0
Baan Suan means Garden HouseBaan Suan means Garden House in Thai. When we, the property เข้าชม: 995 | ความคิดเห็น: 0
Woraburi Hotels & ResortsWelcome to Woraburi Hotels & Resorts ?Experience the difเข้าชม: 989 | ความคิดเห็น: 0
มีทองเกสท์เฮาส์มีทองเกสท์เฮาส์เข้าชม: 1410 | ความคิดเห็น: 0
โรงแรม ณ อยุธยา ยินดีต้อนรับโรงแรม ณ อยุธยา ยินดีต้อนรับ ขอต้อนรับท่านเข้าสู่โรงแรม ณเข้าชม: 1009 | ความคิดเห็น: 0
Ayutthaya Garden RiverAyutthaya Garden River Home is like a Gateway to Ayutthaya Wเข้าชม: 986 | ความคิดเห็น: 0
ประวัติความเป็นมา พระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ คือการเสด็จพระราชดำเนินตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงเยี่ยมราษฎรใน ทุกแห่งหน ทั่วทุกภาคของประเทศไทยพระราชกรณียกิจนี้ ได้ทรงปฏิบัติติดต่อกันมานานนับเป็นระยะเวลาหลายสิบปีแล้ว จึงทำให้ทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎรว่ามีความทุกข์สุขอย่าง ไร ที่ทรงเป็นห่วงมากก็คือ ความยากจนของราษฎรจึงทรงมีพระราชประสงค์จะจัดหาอาชีพให้ราษฎรทำ เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้เพียงพอแก่การยังชีพ ในภาวะปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงสนพระทัยในงานฝีมือพื้นบ้านหรือศิลปกรรมพื้นบ้านที่จัดทำ ขึ้นโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นมาก พระองค์จึงส่งเสริมในเรื่องนี้โดยการจัดให้มีครูออกไปฝึกสอนราษฎรเป็นการ ช่วยปรับปรุงคุณภาพ ของงานให้ดียิ่งขึ้น เมื่อราษฎรมีความชำนาญแล้วผลงานที่ผลิตออกมา ก็จะทรงรับซื้อไว้ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซึ่งงานนี้ต่อมาได้ขยายออกเป็น มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 21กรกฏาคม 2519 และได้ทรงจัดตั้งโรงฝึกอบรมศิลปาชีพขึ้นแห่งแรกที่พระตำหนักสวนจิตรลดา ในวันฉัตรมงคลปี 2523 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ สรรหาที่ดินที่ใกล้เคียงกับพระราชวังบางปะอินเพื่อจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพอีก แห่งหนึ่ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร จัดหาที่ดินได้ 2 แปลง เป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้รัฐบาลจัดการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ราษฎรผู้ยากไร้ได้มีที่อยู่ และทำมาหากินตามอัตภาพ แปลงหนึ่งอยู่ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก อีกแปลงหนึ่งอยู่ที่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรที่ดินแปลงที่อยู่ที่อำเภอ บางไทรด้วยพระองค์เอง ซึ่งที่ดินแปลงนี้มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 750ไร่เศษ และทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าสมควรจะสร้างศูนย์ศิลปาชีพ ณ ที่นี้ วันที่ 3 มิถุนายน 2523 รัฐบาลได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินแปลงนี้แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ และรัฐบาลยังได้มีมติให้หน่วยราชการต่าง ๆ สนับสนุนโครงการของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจัดตั้งขึ้นโดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการดูแล สถานที่และการฝึกอบรม และมีหน่วยทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ มาช่วยดูแลในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย และประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดฝึกอบรมศิลปาชีพเรื่อยมา และมีการซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก 200 ไร่เศษ รวมเป็นเนื้อที่ของศูนย์ฯ ทั้งหมดเกือบ 1,000ไร่ในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2527
สิ่งที่น่าสนใจ
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มีเนื้อที่ประมาณ 1,000ไร่ ภายในศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ประกอบด้วยสถานที่และสิ่งที่น่าสนใจหลายแห่งอาทิ
ศาลาพระมิ่งขวัญ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ จตุรมุขสูง 4 ชั้น ตั้งตระหง่านอยู่กลางศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ชั้นล่าง เป็นศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ ของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ และศูนย์ศิลปาชีพอื่น ๆ
ทั่วประเทศ ชั้นที่ 2 และ ชั้นที่ 3 เป็นนิทรรศการผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพชิ้นยอดเยี่ยมของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ชั้นที่ 4 เป็นห้องประชุมสัมนา เปิดให้ชมทุกวัน วันธรรมดา 09.00 - 17.00 น. วันหยุดราชการ 09.00 - 18.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม
หมู่บ้านศิลปาชีพ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ให้การสนับสนุนหมู่บ้านแห่งนี้ให้แก่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ เพื่อเป็นสถานที่แสดงถึงสถาปัตยกรรม ในการสร้างบ้านเรือนของคนไทยภาคต่าง ๆ การจำลองชีวิตความเป็นอยู่
ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมไทยจากทั่วประเทศ ภายในหมู่บ้านมีการสาธิตวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทย ๆ ในแต่ละภาค และการสาธิตงานศิลปาชีพ เปิดให้ชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 - 17.00 น. ในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00 -19.00 น. นอกจากนี้ยังมีการแสดงนาฏศิลป์ และการละเล่นพื้นบ้านทั้ง 4 ภาคให้ชมด้วยในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์วันละ 1 รอบ ระหว่างเวลา 16.30 -17.30 น.
นอกจากนี้หมู่บ้านศิลปาชีพบางไทรยังมีความยินดีที่จะนำเสนอพิธีมงคลสมรสแบบ ประเพณีไทยโบราณภาคกลางโดยกัดกิจกรรมตามประเพณีไทยสมบูรณ์แบบ เช่น พิธีสงฆ์ ขบวนแห่ขันหมาก พิธีหลั่งน้ำสังข์ ตกแต่งสถานที่ เสียงดนตรี - เพลงบรรเลงตลอดงาน อาหารและน้ำดื่มแขกญาติ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมู่บ้านศิลปาชีพ 0 3536 6666-7, 0 9132 0303 คุณอัจฉรา)
อาคารฝึกอบรมศิลปาชีพ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของศูนย์ฯประกอบด้วยอาคารฝึกอบรมศิลปาชีพของแผนกต่าง ๆ ปัจจุบันทางศูนย์ได้เปิดอบรมศิลปาชีพด้านหัตถกรรมพื้นบ้านและอาชีพเสริมให้ กับเกษตรกรจากทุกภูมิภาคของประเทศรวมทั้งสิ้น 29 แผนกซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมวิธีการฝึกอบรมศิลปาชีพของศูนย์ฯได้ทุก ขั้นตอนและการผลิตงาน
ศิลปาชีพ ที่มีความประณีตวิจิตรซึ่งต้องใช้เวลาอันยาวนานเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพ เปิดให้ชมทุกวัน เวลา 09.00- 16.00 น. ยกเว้นช่วงที่ปิดรุ่นการฝึกอบรม
พระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์ นายถู เจี๋ย ในนามของประชาชนชาวจีน ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม พันพระหัตถ์ซึ่งแกะสลักจากไม้ จันทน์เหลือง สูง 6 เมตร จำนวน1 องค์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษาครบ 6 รอบ และทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานไว้
ณ พระตำหนักชั่วคราว ศาลาโรงช้าง ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ เพื่อให้ประชาชนที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระโพธิสัตว์กวนอิม ได้มานมัสการ และสักการะบูชา ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น.
พระตำหนัก เป็นเรือนไทยภาคกลางใต้ถุนสูงสร้างโดยวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมีความสวย งามตามแบบฉบับเรือนไทยดั้งเดิม พระตำหนักนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับพักผ่อนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ
บรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ พระตำหนักนี้แวดล้อม
ไปด้วยไม้ดอกไม้ประดับและน้ำตกจำลองที่สวยงาม
วังปลา จัดสร้างและดำเนินงานโดยกรมประมง เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืด ตัวอาคารหลักมีตู้กระจกขนาดใหญ่ จำนวน 2 ตู้ ตู้ใหญ่รูปเมล็ดถั่วมีขนาดความจุ 1,400 ตัน อีกตู้หนึ่งทรงกลมขนาดความจุ 600 ตัน ภายในตู้จะแสดงให้เห็นถึงการอยู่อาศัยร่วมกันของปลาน้ำจืดชนิดต่าง ๆ ที่เป็นปลาพื้นเมืองของไทย เปิดให้ชม เวลา 10.00 - 16.00 น. ปิดทุกวันจันทร์และวันอังคาร
สวนนก ดำเนินงานโดยมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระราชินูปถัมภ์ สวนนกเป็นกรงนกขนาดใหญ่ 2 กรง ภายในมีนกพันธุ์ที่หาชมได้ยากมากกว่า 30 ชนิด มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในให้เหมือนธรรมชาติ อาทิ น้ำตกและธารน้ำจำลอง มีป่าจำลองที่ร่มรื่นใกล้เคียงกับธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีสะพานแขวนให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้น
ไปชม และถ่ายภาพนกจากด้านบนของกรงได้อย่างชัดเจน และบริเวณรอบ ๆกรงนกยังมีสัตว์ป่าอื่น ๆ ให้ชมอีกด้วย เปิดใหชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 -19.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20บาท เด็ก 10 บาท
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30–17.00 น. วันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30–18.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ผู้ใหญ่ 50บาท เด็ก 20บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท เที่ยวชมภายในหมู่บ้านศิลปาชีพฯ "วังปลา" พิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อาคารฝึก อบรมงานศิลปาชีพ "ศาลาพระมิ่งขวัญ" ซึ่งเป็นอาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพของนักเรียนศิลปาชีพ สักการะบูชาพระโพธิสัตว์กวนอิมฯ ณ ศาลาโรงช้าง และนั่งรถไฟเล็ก ได้โดยไม่เสียค่าบริการสอบถามรายละเอียดที่ประชาสัมพันธ์ศูนย์ศิลปาชีพบาง ไทร โทร. 0 3536 6252-4, 0 3528 3246-9 หรือ www.bangsaiarts.com
การเดินทาง
1.เส้นทางที่ 1 ทางหลวงหมายเลข 9 (ถ.วงแหวนตะวันตก) จากแยกทางหลวง 344(อ.บางบัวทอง) ซึ่งมาได้จาก จ.สุพรรณบุรี
-ตลิ่งชัน หรือปทุมธานี ผ่านแยกต่างระดับสามโคก-ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถ
ตรงจนถึงศูนย์ฯ
2. เส้นทางที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 306 ถ.ติวานนท์) จากห้าแยกปากเกร็ด-ผ่านแยกสวนสมเด็จ-ผ่านแยกปากคลองรังสิต-ผ่าน
แยกบางพูน-เลี้ยวขวาที่แยกเทคโนฯปทุมธานีเข้าทางหลวงหมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน) ผ่านแยก
เชียงรากน้อย-เลี้ยวซ้ายทางต่างระดับเชียงรากน้อยเดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า-กลับรถใต้สะพานแม่น้ำ
เจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์
3.เส้นทางที่ 3 ทางด่วนสายปากเกร็ดบางปะอิน-ลงทางด่วนบางปะอินตรงผ่านแยกบ่อส่า-กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-
เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ
4. เส้นทางที่ 4 ทางหลวงหมายเลข 1 (ถ.พหลโยธิน) จากรังสิตหรือภาคเหนือหรือภาคอีสาน-ผ่านแยกต่างระดับบางปะอิน
เข้าทางหลวงหมายเลข 9 (ถ.วงแหวนตะวันตก) -ตรงผ่านแยกต่างระดับเชียงรากน้อย- เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า-
กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์
5. เส้นทางที่ 5 ทางหลวงเอเชีย จาก อ.บางปะหัน-อยุธยา มาตามทางหลวงหมายเลข 347(ปทุมธานี-บางปะหัน) -ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-แยกต่างระดับเชียงรากน้อยเลี้ยวขวา-เดินรถ ทางตรงผ่านแยกบ่อส่ากลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า -เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ
6. เส้นทางที่ 6 ทางหลวงหมายเลข 3309 (บางปะอินเชียงรากน้อย) จากทางหลวงสายเอเชีย หรืออยุธยา ผ่านหน้าโรงงานกระดาษบางปะอิน-ลอดใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้าย ทางแยกท่าน้ำบางไทร- เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ