จังหวัดอุทัยธานี
:ข้อมูลทั่วไป
ที่พักอุทัยธานี{ พบ 5 รายการ }
อวตาร สปา เมาท์เทน สวีท รีสอร์ทเอวา อวาตาร จะนำท่านไปสู่ธรรมชาติที่โอบล้อมด้วยขุนเขาเป็นทัศเข้าชม: 1010 | ความคิดเห็น: 0
ห้วยขาแข้งคันทรีโฮม รีสอร์ท? บอกเล่าเรื่องราวของรีสอร์ทริมชายป่าห้วยขาแข้ง ป่ามรดกทางธเข้าชม: 1004 | ความคิดเห็น: 0
บ้านสวนชลัมภ์ รีสอร์ทรีสอร์ทที่พรั่งพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่ท่ามกลางธเข้าชม: 998 | ความคิดเห็น: 0
ริเวอร์ มารีน่า รีสอร์ทรีสอร์ทได้เปิดบริการ ตั้งแต่ปี 2547 ในรูปแบบของท่าจอดเรือท่อเข้าชม: 1001 | ความคิดเห็น: 0
พญาไม้ รีสอร์ทพญาไม้รีสอร์ท : พักผ่อนกับครอบครัวหรือประชุมสัมมนาในบรรยากาศเข้าชม: 1015 | ความคิดเห็น: 0
อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว
ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง
แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ
อุทัยธานี ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ประมาณ 6,730 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาสูง สภาพป่าไม้ของจังหวัดอุทัยธานีอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางธรรมชาติ เขตรักษาพันธุ์ห้วยขาแข้งจึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่ควรค่าแก่การดูแลรักษาและนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทุกคน ดินแดนบางส่วนพบหลักฐานว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง ได้แก่ เมืองโบราณบึงคอกช้างในสมัยทวารวดี เมืองโบราณบ้านใต้ เมืองโบราณบ้านคูเมือง และ เมืองโบราณการุ้ง
ตามตำนานกล่าวว่าในสมัยสุโขทัยท้าวมหาพรหมได้เข้ามาสร้างเมืองที่บ้านอุทัยเก่า (อำเภอหนองฉาง) แล้วพาคนไทยมาอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านกะเหรี่ยงและหมู่บ้านมอญจึงเรียกว่า "เมืองอู่ไทย" ตามกลุ่มหรือที่อยู่ของคนไทย ต่อมาเกิดความแห้งแล้งกระแสน้ำเปลี่ยนทางเมืองจึงถูกทิ้งร้าง ในสมัยอยุธยาชาวกะเหรี่ยงชื่อ "พะตะเบิด" เข้ามาปรับปรุงเมืองอู่ไทยโดยขุดทะเลสาบขังน้ำไว้ใกล้เมืองและเป็นผู้ปกครองเมืองอู่ไทยเก่าคนแรก ชื่อเมืองจึงเรียกเพี้ยนเป็น "เมืองอุไทย" ตามสำเนียงชาวกะเหรี่ยงและมีฐานะเป็นหัวเมืองหน้าด่านชั้นนอกสกัดกั้นกองทัพพม่าที่จะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนที่ริมฝั่งแม่น้ำสะแกกรังมากขึ้น และได้กลายเป็นที่ตั้งของตัวเมืองอุทัยธานีในปัจจุบัน
อุทัยธานีมีสถานที่น่าสนใจทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีหลายแห่งที่น่ามาเที่ยวชมและศึกษาหาความรู้ อีกทั้งมีสินค้าที่ระลึกประเภทหัตถกรรมและอาหารการกินมากมาย เช่น หน่อไม้รวก ข้าวเกรียบปลา ผลไม้แช่อิ่ม ผ้าทอ เครื่องจักสานซึ่งสามารถนำกลับไปเป็นของฝากได้
ประวัติเมืองอุทัยธานี
ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป เมืองอุทัยธานี มีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรยืนยันไว้ว่าเป็นที่อยู่อาศํยของมนุษย์ก่อน ประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 3000 ปี มาแล้ว โดยพบหลักฐานยืนยันในหลายพื้นที่ เช่น โครงกระดูก เครื่องมือหินกะเทาะจากหินกรวด ภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนหน้าผา (เขาปลาร้า) เป็นต้น ตำนานเมืองอุไทยธานี (ชื่อในอดีต) ตำนานเก่าเล่าว่า ในสมัยสุโขทัยเจริญรุงเรืองนั้น “ท้าวมหาพรหม” ได้เข้ามาสร้างเมืองที่บ้านอุทัยเก่า คือ อำเภอหนองฉางในปัจจุบันนี้ แล้วพาคนไทยเข้ามาอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านคนมอญ และคนกะเหรี่ยง จึงเรียกว่า“เมืองอู่ไทย” เรียกชื่อตามกลุ่มหรือที่อยู่ของคนไทย ซึ่งพากันตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น มีพืชพันธุ์ และอาหารที่อุดมสมบูรณ์กว่าแห่งอื่น ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทางเดินและเกิดกันดารน้ำ เมืองอู่ไทยจึงถูกทิ้งร้าง จนในที่สุด “พะตะเบิด”ได้เข้ามาปรับปรุงเมืองอู่ไทยโดยขุดที่เก็บกักน้ำไว้ใกล้เมือง และพะตะเบิดได้เป็นผู้ปกครองเมืองอู่ไทยเป็นคนแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองอู่ไทย ต่อมาได้เรียกกันเป็น "เมืองอุไทย" คาดว่าเพี้ยนไปตามสำเนียงชาวพื้นเมืองเดิม ได้มีฐานะเป็นหัวเมืองด่านชั้นนอก มีพระพลสงครามเป็นนายด่านแม่กลอง และพระอินทรเดช เป็นนายด่านหนองหลวง (ปัจจุบันแม่กลอง คือ อำเภออุ้มผาง และหนองหลวง คือ ตำบลหนองหลวง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก) คอยดูแลพม่าที่จะยกทัพมาตามเส้นทางชายแดนด่านแม่ละเมา ต่อมาในสมัยพระเอกาทศรถ (พ.ศ.2148 - 2163) ได้โปรดให้บัญญัติอำนาจการใช้ตราประจำตำแหน่ง มีบัญชาการตามหัวเมืองนั้น ได้ระบุในกฎหมายเก่าลักษณะพระธรรมนูญว่า "เมืองอุไทยธานี เป็นหัวเมืองขึ้นแก่มหาดไทย" เมืองอุไทยธานี เป็นเมืองที่อยู่บนที่ดอนและลึกเข้าไป ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ และไม่สามารถติดต่อทางเรือได้ ดังนั้นชาวเมืองอุไทยธานี จึงต้องขนข้าวบรรทุกเกวียน มาลงที่แม่น้ำ จึงทำให้พ่อค้าพากันไปตั้งยุ้งฉางรับซื้อข้าวที่ริมแม่น้ำจนเป็นหมู่บ้านใหญ่ เรียกว่าหมู่บ้าน "สะแกกรัง" เนื่องจากเป็นพื้นที่มีป่าสะแกขึ้นเต็มริมน้ำ และมีต้นสะแกใหญ่อยู่กลางหมู่บ้าน บ้านสะแกกรัง ชาวจีนเรียกเพี้ยนเป็น "ซิเกี๋ยกั้ง" เป็นตลาดซื้อข้าวที่มีพ่อค้าคนจีนนิยมไปตั้งบ้านเรือนและยุ้งฉาง ต่อมาในระยะหลังได้มีเจ้านายและขุนนางมาตั้งบ้านเรือนอยู่ เพราะความสะดวกในการกะเกณฑ์สิ่งของส่งเมืองหลวง ซึ่งเป็นจำพวก มูลค้างคาว ไม้ซุง กระวาน และช้างป่า อีกทั้งยังมีช่องทางในการค้าข้าวอีกด้วย ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (พ.ศ.2251-2275) นั้น จมื่นมหาสนิท (ทองคำ) ซึ่งย้ายมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสะแกกรังนั้น ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาราชนกูล และต่อมาได้กำเนิดบุตรชายคนโตชื่อ "ทองดี " เกิดที่สะแกกรัง สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกฯ พระนามเดิม ทองดี เดิมทรงรับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระเจ้าบรมโกศ) ได้ดำรงตำแหน่ง พระอักษรสุนทร เสมียนตรากรมมหาดไทย ถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระเจ้าเอกทัศ) พม่ายกกองทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา เกิดการระส่ำระสายแตกสามัคคีในพระนคร จึงทรงอพยพครอบครัวไปรับราชการกับเจ้าเมืองพิษณุโลก ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ ต่อมาทรงพระประชวร สิ้นพระชนม์ในเมืองพิษณุโลก บุตรชายชื่อ "ทองด้วง" ภายหลังได้รับราชการเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ปราบจราจลในกรุงธนบุรี และสถาปนาเป็นกษัตริย์ราชวงศ์จักรีปกครองแผ่นดิน พระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" รัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญพระอัฐิส่วนหนึ่งประดิษฐาน ณ หอพระในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการถวายบังคม ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา ในฐานะสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกแห่งราชวงศ์จักรี พระอัฐิอีกส่วนหนึ่ง กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท อัญเชิญเข้าประดิษฐานในพระเจดีย์ทอง ในพระมณฑปวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ มีประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งเครื่องทองน้อย เพื่อสักการะบูชาทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนิน พ.ศ. 2376 ข้าราชการชาวกรุงเทพฯผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระยาอุไทยธานี เจ้าเมืองอุไทยธานีในสมัยนั้น ได้เห็นว่าบ้านสะแกกรังเป็นตลาดใหญ่ มีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่กันอย่างหนาแน่น อีกทั้งเป็นสถานที่ที่ชาวอุไทยธานีติดต่อค้าขายข้าว และไม้ซุง กับพ่อค้าที่นั่นมานานแล้ว จึงคิดตั้งบ้านเรือนเพื่อค้าขาย ประจวบกับเวลานั้น เจ้าเมืองไชยนาทเป็นเพื่อนกัน จึงขอตั้งบ้านเรือนที่ริมแม่น้ำสะแกกรัง เนื่องจากผู้คนมาติดต่อราชการและมาค้าขายกันมาก ทั้งนี้ เนื่องจากเจ้าเมืองไม่กล้าขึ้นไปเมืองอุไทยธานีเก่า อ้างว่ากลัวไข้ป่า จึงเป็นเหตุให้พากันอพยพมาอยู่กันมากขึ้น พ.ศ. 2391 ได้มีการแบ่งเขตดินแดนเมืองอุไทยธานี และเมืองไชยนาทโดยตัดเขตบ้านสะแกกรังทางฝั่งคลองฟากใต้ ตั้งแต่ท้ายบ้านสะแกกรังไปจดเมืองอุไทยธานีเก่า โอนที่นั่นจากเมืองไชยนาท เป็นของเมืองอุไทยธานี ดังนั้นเมืองอุไทยธานี จึงตั้งอยู่ที่ปลายสุดเขตแดนเมืองมโนรมย์ ข้างใต้บ้านลงมาสักคุ้งน้ำหนึ่งก็เป็นแดนเมืองไชยนาท พ.ศ.2441 เมืองอุไทยธานี ขึ้นกับมณฑลนครสวรรค์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนเป็นขึ้นกับมณฑลอยุธยา สุดท้ายมีการประกาศเลิกมณฑลปี พ.ศ.2476 และจัดให้จังหวัดเป็นหน่วยปกครองส่วนภูมิภาคที่สำคัญที่สุด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน..
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ และอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวัดสิงห์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท และอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นกั้นแบ่งเขตแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก อำเภอสังขละบุรี และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5652 0826, 0 5651 1915
สำนักงานจังหวัด โทร. 0 5652 0737, 0 5651 1063
ที่ว่าการอำเภอ โทร. 0 5651 1200
โรงพยาบาลอุทัยธานี โทร. 0 5652 4455-8
สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 5651 1581, 0 5651 1055
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155, 0 5657 1205
กรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 1182
Link ที่น่าสนใจ
สำนักงานจังหวัดอุทัยธานี โทร. 0 5652 0737, 0 5651 1063
http://www.uthaithani.go.th
แหล่งข้อมูล :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี