งานบวชนาคช้างเดือน 6 บ้านตากลาง อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
ที่พักสุรินทร์{ พบ 5 รายการ }
ที่พัก อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์บ้านลีลาวดี Leelavadee Apartment Motel บ้านพักลีลาวดี บ้านเข้าชม: 927 | ความคิดเห็น: 0
สวนอาหารระเบียงน้ำสวนอาหารระเบียงน้ำ 45 หมู่ 7 ต.คอโค ถ.สุรินทร์-บุรีรัมย์ เข้าชม: 928 | ความคิดเห็น: 0
โรงแรมมณีโรจน์โรงแรมมณีโรจน์ ทางเลือกใหม่ของชาวสุรินทร์ พักผ่อนอย่างมีระดัเข้าชม: 926 | ความคิดเห็น: 0
อพาร์ทเมนท์ กฤษดา แกรนด์ พาเลสอพาร์ทเมนท์ กฤษดา แกรนด์ พาเลสเข้าชม: 928 | ความคิดเห็น: 0
โรงแรมมาติน่า...โรงแรมมาติน่า...โรงแรมแห่งใหม่ของชาวสุรินทร์ ตกแต่งด้วยห้องพเข้าชม: 924 | ความคิดเห็น: 0
รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
ชุมชนชาวกูยเลี้ยงช้าง และหมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นทั้งในด้านภาษาพูดความเป็นอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้าง ภูมิปัญญาชาวบ้าน ยึดถือการเคารพช้างว่าเท่ากับการเคารพศาลปะกำและการเคารพศาลปะกำก็เท่ากับเคารพบรรพบุรุษ
คนและช้างเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวที่มีความผูกพันธ์กันอย่างแนบสนิทตามฐานะอายุของช้างและคน ถ้าช้างมีอายุมากก็เปรียบช้าง เสมือน พ่อ-แม่-ปู-ย่า-ตา-ยาย ถ้าช้างมีอายุน้อยก็เปรียบช้างเสมือนลูก-หลาน ตามธรรมเนียมชาวกูยเลี้ยงช้างจะไม่รับประทานเนื้อช้างโดยเด็ดขาด เพราะช้างคือสัตว์คู่บ้านคู่เมือง คู่พระพุทธศาสนา มีคุณค่าต่อชาวโลกด้านวัฒนธรรมประเพณีมาทุกยุคทุกสมัย
ในวันขึ้น 13, 14 และ 15 ค่ำเดือน 6 (ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม) ของทุกปี บุตรหลานชายอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ที่มีจิตศรัทธาจะเข้าบรรพชาอุปสมบทในวันดังกล่าว พร้อม ๆ กันครั้งเดียว ทุกครัวเรือนในเขตรัศมีวัดจะร่วมกันเป็นเจ้าภาพโดยไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นบุตรหลานของใคร ผู้ใดมีช้างก็ให้นำมาร่วมขบวนแห่ ชาวกูยนิยมให้บุตรหลานบรรพชาอุปสมบทในวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรง ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพาน และเชื่อถือว่าหากได้นั่งช้างแห่นาคด้วยแล้วจะได้อานิสงส์มหาศาล โดยจะแห่นาคไปที่วังทะลุ และทำการบรรพชาอุปสมบท ณ จุดนั้น ซึ่งเป็นวังน้ำวนที่เกิดจากการไหลมาบรรจบกันของแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำชีและแม่น้ำมูล ทำให้เกิดดินดอน หรือเนินดินขึ้นตรงกลาง มีแม่น้ำล้อมรอบ ชาวบ้านเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สิมน้ำ" และเนื่องจากเป็นบริเวณที่จัดอุปสมบทหมู่ จึงเรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า "ดอนบวช" ทั้งนี้ เป็นผลจากความเชื่อว่าผู้ใดได้บูชาด้วยการปฏิบัติตามผู้นั้นชื่อว่า ได้เห็นพระพุทธเจ้า ซึ่งตามพุทธประวัติ ตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะก่อนอุปสมบท พระองค์ได้ทรงม้ากัณฑกะโดยมีนายฉันนะตามเสด็จไปสู่แม่น้ำอโนมา ทรงปลงผมและผนวช ณ ที่ริมแม่น้ำอโนมา
ในปัจจุบัน ชาวกูย จะตั้งขบวนช้างแห่ไปยัง 'วังทะลุ' และควาญช้างจะนำช้างลงอาบน้ำให้ร่างกายสะอาด เพื่อเตรียมเข้าพิธีบวชช้าง ซึ่งจะทำก่อนบวชนาคที่วัด พิธีบวชช้างจะกระทำที่ศาลปะกำ สถานศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ โดยมีหมอเฒ่าหรือปะกำหลวงเป็นผู้ประกอบพิธีบวชให้ช้าง จากนั้นขบวนช้างและชาวกูยจะแห่นาคไปยังพัทธสีมา เพื่อบรรพชาอุปสมบทนาคให้เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาต่อไป
สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)
1. ผ้าไหมพื้นเมือง บ้านเขวาสินรินทร์ ชาวเขวาสินรินทร์ เป็นคนไทยเชื้อสายเขมรสูง สืบทอดการทอผ้าไหมลวดลายโบราณมาแต่อดีต ผ้าไหมที่นี่มีลวดลายสีสันงดงามเฉพาะตัว ในเมืองไทยมีการทอแบบนี้คือที่นี่เพียงแห่งเดียว สมัยก่อนถือเป็นเครื่องนุ่งสำหรับชนชั้นสูงในราชสำนักเขมรเท่านั้น ผ้าไหมของบ้านเขวาสินรินทร์ เมื่อถูกนำไปเผยแพร่ในถิ่นอื่นมักถูกเรียกว่าผ้าไหมสุรินทร์
2. ลูกประเกือม เป็นภาษาพื้นถิ่น หมายถึง 'ลูกประคำ' เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเครื่องเงินด้วยความปราณีต สวยงาม มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ ผลิตมากแถบบ้านโชค ตำบลเขวาสินรินทร์
การเดินทาง
ใช้เส้นทางหมายเลข 214 (สุรินทร์-ท่าตูม) ถึงกิโลเมตรที่ 42 เลี้ยวซ้ายสู่บ้านตากลางอีก 22 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองประมาณ ประมาณ 60 กิโลเมตร
ข้อมูลการติดต่อ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 โทรศัพท์ 0 4421 3666 และ ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว (Call Center) 1147
ข้อแนะนำ
ประเพณีบวชช้าง จัดขึ้นในวันวิสาขบูชาของทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม
แหล่งข้อมูล
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)