วัดชลธาราสิงเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ที่พักนราธิวาส{ พบ 1 รายการ }
โรงแรมอิมพีเรียลโรงแรมหรูพร้อมบริการอาหารนานาชาติ อีกทั้งยังมีสระว่ายน้ำ บารเข้าชม: 936 | ความคิดเห็น: 0
รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
ความละเอียดลออของเชิงช่างที่ตัวอุโบสถ และความสงัดเงียบภายในบริเวณวัดชลธาราสิงเห รวมถึงลำน้ำตากใบที่ทอดยาวไหลนิ่งอยู่เบื้องหน้านั้น ไม่เพียงแต่ความงามเท่านั้นที่เป็นเรื่องน่าประทับใจ หากยังมีเรื่องราวของการแบ่งแยกดินแดนระหว่างสยามและอังกฤษในครั้งอดีต ทบซ้อนอยู่ให้เรียนรู้ ณ วัดปลายดินแดนไทยแห่งนี้
วัดชลธาราสิงเห ตั้งอยู่ที่บ้านท่าพรุ หมู่ที่ 3 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2403 โดยพระภิกษุพุฒ ต่อมาในปี พ.ศ. 2416
จึงได้สร้างพระอุโบสถขึ้น ขุนสมานธาตุ วฤทธิ์ หรือ เปลี่ยน กาญจนรัตน์ นายอำเภอตากใบคนแรก ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดชลธาราสิงเห เพราะวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำ และพระครูโอภาษพุทธคุณ เจ้าอาวาสคนแรกของวัดเป็นผู้มีบุญญาธิการดุจดังสิงห์ ชาวบ้านในอำเภอตากใบมีความเลื่อมใสนับถือวัดนี้อย่างมาก ถือเป็นวัดพิทักษ์แผ่นดินไทย ที่ทำให้ดินแดนแถบนี้พ้นจากการเข้ายึดครองของอังกฤษ เนื่องจากรัฐบาลไทยกล่าวว่าวัดนี้เป็นโบราณสถานและใช้เป็นข้ออ้างในการปักเขตแผ่นดินในปี พ.ศ. 2441 ในบริเวณ มีสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มีความงดงามทางศิลปกรรมปรากฏแก่ผู้คน ได้แก่
- อุโบสถ เป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ หลังคาซ้อน 3 ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน ประดับลวดลายปูนปั้น เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเขียนโดยพระภิกษุชาวสงขลา เป็นลายเทพชุมนุม พุทธประวัติ และวิถีชาวบ้าน
- องค์พระเจดีย์ ฐานสี่เหลี่ยม ล้อมด้วยกำแพงแก้วและสถูปทรงระฆังคว่ำ
- หอพระนารายณ์ ฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐ หลังซ้อน 4 ชั้น มุงกระเบื้อง มุมหลังคาแต่ละชั้นประดับด้วยหัวนาค หลังคาชั้นที่ 4 เป็นฐานรองยอดหล่อด้วยซีเมนต์ เป็นรูปมงกุฎ
- กุฏิ ก่อสร้างเป็นทรงไทยพื้นเมือง หลังคามุงกระเบื้อง ประดับด้วยปูนปั้นและไม้ฉลุ ฝาผนังเป็นภาพจิตรกรรม
- ศาลา ลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะภาคใต้และจีน ตกแต่งด้วยใบระกา หางหงส์ ปูนปั้น
- วิหารเก่าด้านหลัง มีปูนปั้นรูปพระนารายณ์ 4 กร และเครื่องใช้ภาชนะสมัยราชวงศ์ซ้อง
สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)
ผ้าบาติก งานผ้าย้อมสีที่มีขั้นตอนการผลิตน่าสนใจและบ่งถึงความละเอียดอ่อนและเต็มไปด้วยชีวิตชีวาของผู้คนแถบถิ่นทะเล จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีการทำผ้าบาติกใช้กันมากกว่า 2,000 ปีแล้ว
การเดินทาง
จากตัวเมืองนราธิวาส ไปตามทางสาย 4136 สู่อำเภอตากใบ ถึงสี่แยกตลาดอำเภอเลี้ยวซ้ายไปประมาณ 100 เมตรถึงทางเข้าวัด
ข้อมูลการติดต่อ
ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว (Call Center) 114 7
ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว อำเภอสุไหงโก-ลก โทรศัพท์ 0 7361 5230,0 7352 2412
แหล่งข้อมูล
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)