เมืองโบราณดงละคร
:จังหวัดนครนายก
ที่พักนครนายก{ พบ 15 รายการ }
บ้านภูตะวันบ้านพักตากอากาศ อยู่ในส่วนของรีสอร์ท ของ Royal hills golf เข้าชม: 1012 | ความคิดเห็น: 0
บ้านสวนเนินบกท่ามกลางธรรมชาติแห่งขุนเขา อากาศที่เย็นสบายยามค่ำคืน รายล้อเข้าชม: 1072 | ความคิดเห็น: 0
วรณัณ ล่องแก่ง + โฮมสเตย์ นครนายกโฮมสเตย์ ท่ามกลางสวนผลไม้ และ ขุนเขา ตามวิถีชีวิตชาวบ้าน อบอเข้าชม: 1015 | ความคิดเห็น: 0
สยาม รีสอร์ทบ้านพักจำนวน 19 หลัง สไตล์ผสมระหว่างบาหลีและล้านนา มีบ้านพักเข้าชม: 1012 | ความคิดเห็น: 0
สมฤดี รีสอร์ทเราเป็นรีสอร์ทท่ามกลางการโอบล้อมของขุนเขา ป่าไม้ แหล่งน้ำ แลเข้าชม: 1004 | ความคิดเห็น: 0
โรงแรม จันทรา รีสอร์ทJuntra Resort & Hotel (โรงแรม จันทรา รีสอร์ท ) was estabเข้าชม: 1024 | ความคิดเห็น: 0
ริมน้ำ โฮมสเตย์ริมน้ำ โฮมสเตย์ บ้านพักริมน้ำ สำหรับหมู่คณะ ในบรรยากาศ ส่วนตเข้าชม: 1060 | ความคิดเห็น: 0
ภูมินทร์ รีสอร์ทภูมินทร์ รีสอร์ท บริการบ้านพัก สัมมนา จัดเลี้ยง เพรียบพร้อมดเข้าชม: 1028 | ความคิดเห็น: 0
บ้านพักเติมสุขเติมความสุข ให้เต็มอิ่มกับบรรยากาศธรรมชาติที่ บริสุทธิ์งดงามเข้าชม: 1018 | ความคิดเห็น: 0
บ้านป่าริมเขื่อนยินดีต้อนรับสู่ บ้านป่าริมเขื่อน จากทุ่งโล่งกลางใจกลางหุบเขาเข้าชม: 1019 | ความคิดเห็น: 0
บ้านกล้วยกล้วยรีสอร์ทรีสอร์ทสไตส์คันทรี ที่จำทำให้วันพักผ่อนของคุณจดจำอยู่ในใจไม่เข้าชม: 1072 | ความคิดเห็น: 0
ธาริดาแกรนด์วิว โฮเต็ลแอนด์รีสอร์ทหากคุณกำลังมองหาสถานที่พักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติในบรรยากาศของคเข้าชม: 1020 | ความคิดเห็น: 0
ชลพฤกษ์ รีสอร์ทได้แบ่งโซนบ้านพักไว้อย่างลงตัวในแบบบ้าน 3 สไตล์ ได้แก่ โซนชลเข้าชม: 1007 | ความคิดเห็น: 0
จุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ อุทยาน วังตะไคร้ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร หรือ ?คุณท่าน? ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อเข้าชม: 1018 | ความคิดเห็น: 0
ตั้งอยู่ที่ตำบลดงละคร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 3076 เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 6.3 กิโลเมตร ผ่านวัดเจดีย์ทอง และเลี้ยวไปทางเดียวกับวัดดงละคร แต่เดิมเรียกกันว่า “เมืองลับแล” เป็นสถานที่ตั้งเมืองโบราณสมัยทวารวดีและขอม เนินดินดงละครหรือดงใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 6 ตารางกิโลเมตร ภายในมีเมืองโบราณหรือดงเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่อยู่ค่อนไปทางทิศตะวันตกของเนินดิน มีคันดินเป็นกำแพง 2 ชั้นชาวบ้านเรียกกันว่า “สันคูเมือง” และมีคูน้ำล้อมรอบ ลักษณะเดียวกับเมืองโบราณทั่วไปในสมัยทวารวดี ภายในเมืองน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของชนชั้นปกครอง ส่วนประชาชนทั่วไปน่าจะกระจายอยู่ในบริเวณที่ลุ่มรอบเมือง ความรุ่งเรืองที่เด่นชัดแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเริ่มพุทธศตวรรษที่ 14-16 เป็นวัฒนธรรมแบบทวารวดี ช่วงที่สองราวพุทธศตวรรษที่ 17-19 เป็นวัฒนธรรมขอม และวัฒนธรรมก่อนอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 ชาวบ้านดงละครคงจะอพยพไปตั้งถิ่นฐานตามลำน้ำสายหลักในจังหวัดนครนายก สันนิษฐานว่าน่าจะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเมืองศรีมโหสถที่จังหวัดปราจีนบุรี เพราะเมืองทั้งสองอยู่ห่างกันเพียง 55 กิโลเมตร โบราณวัตถุที่ค้นพบบริเวณโบราณสถาน ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา ภาชนะเคลือบสีฟ้า ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน เบี้ยดินเผา แผ่นตะกั่ว ตุ้มหูสำริด แผ่นทองคำ เศียรพระพุทธรูปกะไหล่ทอง สถูปศิลาแลง แหวนสำริด กำไลสำริด เป็นต้นสำหรับตำนานเมืองนั้นเล่ากันว่า เมืองนี้เคยเป็นเมืองของราชินีขอมซึ่งเป็นที่รโหฐานผู้อื่นไม่สามารถเข้าออกได้ง่ายนัก ประกอบกับลักษณะของบริเวณเมืองมีต้นไม้สูงขึ้นอยู่ทั่วไปใครเข้าไปแล้วอาจหาทางออกไม่ได้ จะต้องวนเวียนอยู่ในดงนั้นเอง และวันโกนวันพระจะได้ยินเสียง กระจับปี่ ซอ ปี่พาทย์ มโหรีขับกล่อมคล้ายๆ กับมีการเล่นละครในวัง ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “ดงละคร” หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า “ดงละคร” นั้นอาจเพี้ยนมาจาก“ดงนคร” กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
Tags :ประวัติศาสตร์โบราณสถานอุทยานการศึกษา